ซ่อมเครื่องปรับอากาศที่ได้มาตรฐานเเละค่าใช้จ่ายไม่บานปลาย
การซ่อมเครื่องปรับอากาศ (แอร์) เเต่ละครั้ง ถ้าช่างซ่อมไม่มีประสบการณ์ ไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ ไม่รู้หลักการพื้นฐานของระบบการสถานะสารทำความเย็นเเล้ว ทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายไม่จบไม่สิ้น เเละช่างซ่อมไว้ใจได้ไหม เราจึงปรับโฉมการบริการใหม่ โดยเน้นการบริการมาตรฐาน ถูกต้องตามหลักการระบบทำความเย็น เเละการใช้อะไหล่เเอร์จากศูนย์ เนื่องจากวิศวกรบริการจากศูนย์บริการออกมาทำเอง ซึ่งมีประสบการณ์โดยตรงในการเเก้ไขปัญหา วิเคราะห์สาเหตุที่ถูกหลักการ เเละใช้เครื่องมือมาตรฐาน ซึ่งผ่านการอบรมทั้งใน เเละต่างประเทศ เเละไว้ใจได้ รวมทั้งรับประกันงานซ่อม 60 วัน รวมทั้งทีมงานเราไว้ใจได้เเละสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้เมื่อมีปัญหา
เน้นมาตรฐานวิชาชีพ วิเคราะห์ปัญหาถูกจุด เเก้ไขถูกต้อง ค่าใช้จ่ายไม่บานปลาย เพราะเราคือ วิศวกรศูนย์ออกมาทำเอง
เครื่องมือมาตฐานในการดูเเลซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ
เกจวัดน้ำยา | ชุดบานเเฟร์ท่อ | ตัววัดอุณหภูมิ | ชุดเชื่อมท่อทองแดง | คลิปเเอมป์ | ตาชั่งน้ำยาสารทำความเย็น | ประเเจเลื่อน | ปั๊มทำสุญญากาศ | ไขควง | ประเเจหกเหลี่ยม |
ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบเครื่องปรับอากาศ
ชุดเครื่องภายใน | ส่วนประกอบ | หน้าที่ |
เเผงคอยล์เย็น |
เป็นท่อทางเดินของน้ำยาสารทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำมาจากเเคปทิวส์ซึ่งส่วนมากจะทำจากท่อทองแดง เเละมีครีบที่ทำด้วยอลูมิเนียม |
|
ใบพัดลม | ดึงความเย็นในตัวคอยล์เย็นไปสู่บริเวณที่เราต้องการให้เกิดความเย็น | |
มอเตอร์พัดลม | จะติดตั้งกับใบพัดเพื่อขับพัดลมเเละสามาถปรับระดับได้ที่รีโมทคอนโทร | |
แผง P.B บอร์ด | จะทำหน้าที่คอนโทรลการทำงานของเครื่อง มอเตอร์ เเละอุณหภูมิตามที่เราต้องการ โดยมีไมโครโปรเซ็นเซอร์ในการควบคุมสั่งการ | |
เช็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ | จะทำหน้าที่ในการตรวจจับอุณหภูมิภายห้องเเล้วไปเปรียบเทียบกับอุณหภูมิที่ตั้งกับตัวรีโมทคอนโทรล เพื่อควบคุมการทำงานให้ตามที่เราต้องการ | |
ชุดเครื่องภายนอก | คอมเพรสเซอร์ |
เป็นปัจจัยหลักของเครื่องปรับอากาศ (แอร์) ทำหน้าที่ในการดูดอัดสารทำความเย็นให้มีอุณหภูมิ ความดันสูงเพื่อส่งไปยังคอยล์ร้อน (Condensor)
|
เเผงคอยล์ร้อย | เป็นท่อทางเดินของน้ำยาสารทำความเย็นมีมาจากคอมเพรสเซอร์เพื่อจะระบายร้อนออกเเละจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าชเป็นของเหลว | |
ใบพัดลม | ทำหน้าที่ระบายความร้อนเพื่อเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็น | |
เเคปทิ้วส์ | ทำหน้าที่ต้านทานการไหลเพื่อลดเเรงดันของน้ำยาก่อนจะเข้าไปคอยล์เย็น | |
มอเตอร์พัดลม | จะติดตั้งกับใบพัดเพื่อขับพัดลมในการระบายควมร้อนให้เเผงคอยล์ร้อน | |
คาปาร์ซิเตอร์คอมเพรสเซอร์ | จะทำหน้าที่ช่วยการสตาร์ทการทำงานของคอมเพรสเซอร์ | |
คาปาร์ซิเตอร์มอเตอร์พัดลม | จะทำหน้าที่ช่วยการสตาร์ทการทำงานของมอเตอร์พัดลม | |
เเมกเนติก | จะทำหน้าที่ตัดต่อการทำงานของตัวคอมเพรสเซอร์เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้ตามที่ตั้งไว้ |
อาการเเละสาเหตุของเครื่องปรับอากาศ
สาเหตุของปัญหา | จุดสังเกตข้อขัดข้อง | การแก้ไข |
มีน้ำเเข็งเกาะที่เเผงคอยล์เย็น (Evaporator) | เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิห้อง (TA sensor) ขาดหลุดหรือลัดวงจร |
1. ตรวจเช็คตำเเหน่งเซ็นเซอร์ 2. วัดความต้านทานเซ็นเซอร์ 3. เซ็นเซอร์ปกติตรวจเช็คชุด P.C. บอร์ด |
แอร์ไม่เย็น ไม่มีลมออก | คอยล์สกปรกเเละมอเตอร์เครื่องภายในชำรุด |
1. ล้างแอร์ถ้าสกปรก 2. ตรวจสอบขั้วมอเตอร์ถ้าชำรุดเปลี่ยนตัวใหม่ |
เเอร์มีน้ำรั้วเวลาเปิดใช้งาน | ตรวจท่อน้ำทิ้งตัน เเละติดตั้งไม่ได้ระดับ | 1. เป่าท่อทิ้งเเละปรับระดับท่อน้ำทิ้งใหม่ |
แอร์มีกลิ่นเหม็นเวลาตัดการทำงาน | สังเกตุว่ามีกลิ่นของเฟอร์นิเจอร์ น้ำหอม เเละกลิ่นกับข้าวหรือไม่ |
1. เปิดหน้าต่างหรือพัดลมระบายเพื่อให้มีการถ่ายเทของอากาศ 2. ทำการล้างเเอร์ ถ้าไม่หายทำการเปลี่ยนแผงคอยล์เย็น |
แอร์ทำงาน 15 นาที่ เเล้วตัดการทำงาน | คอมเพรสเซอร์ล็อค โอเวอร์โหลดตัดการทำงาน ไฮเพรสเซอร์สวิทช์ตัดการทำงาน |
1. ตรวจสอบความต้านขดลวดของคอมเพรสเซอร์ 2. ตรวจสอบเเรงดันน้ำยาภายในระบบ |
เเอร์ทำงานไม่มีลมเย็นออกมา | คอยล์เย็นหรือคอยล์ร้อนรั่ว ข้อต่อของท่อน้ำยารั่ว ทำให้ในระบบไม่มีน้ำยา | 1. หารอยรั่ว เเละวัดเเรงดันน้ำยาสารความเย็นในระบบ |
ค่าบริการในการซ่อมเครื่องปรับอากาศ พื้นที่บริการ เมืองทองธานี นนทบรี่ หลักสี่ บางชื่อ ปทุมธานี
ค่าเเรงบริการ (บาท) | |||||
รายละเอียด | ติดผนัง (Wall type) | 4 ทิศทาง | เเขวนใต้ฝ้าและดักท์ | ||
ทุกขนาด BTU | 0-26,000 | 26,001-48,000 | 0-26,000 | 26,001-48,000 | |
ค่ายานพาหนะเเละตรวจเช็คเบื้องต้น | 450 | 450 | 450 | 450 | 450 |
เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์พร้อมล้างระบบ | 1300 | 1700 | 1900 | 2000 | 2200 |
เปลี่ยนคอยล์เย็น, คอยล์ร้อน | 1000 | 1400 | 1600 | 1800 | 2000 |
ซ่อมรั่วหรือเปลี่ยนอะไหล่ของระบบน้ำยาโดยมีการทำสุญญากาศ (ไม่มีการเชื่อมระบบ) | 600 | 800 | 800 | 1200 | 1200 |
เปลี่ยน Fan Motor, ใบพัดลม,แผงวงจรควบคุมการทำงาน (PCB.) | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 |
น้ำสารทำความเย็น R-22 | คิดกิโลกรัมละ 150 บาท ตามสเป็กของเครื่องปรับอากาศ |